ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

อัตราการออกจากงาน (Attrition rate) ในบริษัทของคุณคือ อัตราที่ลูกจ้างเต็มใจออกจากบริษัทของคุณ โดยอาจจะเรียกว่า อัตราการลาออกของพนักงาน (Turnover rate) หรืออัตราการสูญหาย (Churn rate) ถ้าบริษัทของคุณมีอัตราการออกจากงานที่สูง คุณก็จะต้องใช้ต้นทุนในการหาลูกจ้างทดแทนเป็นอย่างมาก ยิ่งไปกว่านั้น ลูกค้าอาจจะประเมินมูลค่าของสินค้าและบริการต่ำลงเนื่องจากแรงงานน้อยลง หรือขาดกำลังใจหรือแรงขับเคลื่อนในการเป็นลูกจ้าง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์บริษัทและอาจจะส่งผลต่อบริษัทของคุณในอนาคตเป็นอย่างมาก

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

การคำนวณอัตราการออกจากงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ในการคำนวณอัตราการออกจากงานในเดือนที่กำหนดนั้น คุณต้องรู้จำนวนลูกจ้างทั้งหมดตั้งแต่ต้นเดือน จากนั้น คุณต้องรู้จำนวนลูกจ้างใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาในเดือนนั้น สุดท้าย หาจำนวนลูกจ้างที่ลาออก จำนวนลูกจ้างที่ลาออกคือตัวเลขของการออกจากงาน
    • ใส่ตัวเลขตามสมการดังต่อไปนี้ อัตราการออกจากงาน = จำนวนการออกจากงาน/จำนวนลูกจ้างทั้งหมด *100
    • ตัวอย่างเช่น สมมติว่าบริษัทโทรคมนาคมมีลูกจ้างจำนวน 150 คนในวันที่ 1 เมษายน 2558 ระหว่างเดือนมีลูกจ้างลาออกจำนวน 20 คน ดังนั้น บริษัทจึงจ้างพนักงานใหม่เพิ่ม 25 คน
    • อันดับแรก คำนวณจำนวนลูกจ้างโดยเฉลี่ย เริ่มต้นด้วยพนักงาน 150 คน ถ้ามีคนลาออก 20 คน และจ้างใหม่ 25 คน จำนวนพนักงานทั้งหมดคือ 155 คน จำนวนพนักงานโดยเฉลี่ยในเดือนนั้นสามารถคำนวณได้ด้วยสมการ .
    • จากนั้น คำนวณอัตราการออกจากงานรายเดือน ในเดือนนี้ มีคนลาออก 20 คน และจำนวนพนักงานโดยเฉลี่ยคือ 152.5 อัตราการออกจากงานรายเดือนสามารถคำนวณตามสมการ
    • อัตราการออกจากงานในเดือนเมษายน 2558 คือ 13.11%
  2. การคำนวณจะใช้สมการเดียวกัน แต่แทนที่จะใช้ข้อมูลของเดือนเดียว คุณจะต้องใช้ข้อมูลสำหรับ 1 ไตรมาสหรือก็คือ 3 เดือน สมมติว่าบริษัทโทรคมนาคมตามที่กล่าวข้างต้นต้องการคำนวณอัตราการออกจากงานในไตรมาสที่สองของปี 2558 ซึ่งจะเป็นเดือนเมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน ปี 2558
    • จำนวนพนักงานเริ่มต้นในวันที่ 1 เมษายน 2558 คือ 150 แต่เมื่อจบไตรมาสแล้ว มีพนักงานลาออกจำนวน 30 คน และจ้างใหม่ 40 คน ดังนั้น จำนวนพนักงานล่าสุดในวันที่ 30 มิถุนายน 2558 คือ
    • จำนวนพนักงานในไตรมาสนี้โดยเฉลี่ยคือ
    • ดังนั้น อัตราการออกจากงานในไตรมาสที่สองของปี 2015 คือ หรือ 19.35%
  3. ในการคำนวณแบบนี้ คุณต้องรู้ตัวเลขการลาออกของพนักงานทั้งหมดตลอดทั้งปี จากนั้น คุณต้องคำนวณจำนวนพนักงานโดยถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted average) การใช้ถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักนั้นจะทำให้คำนวณออกมาได้แม่นยำมากขึ้น เพราะจะเป็นจำนวนที่เผื่อไว้ในกรณีเกิดการเปลี่ยนแปลงจำนวนพนักงานตามฤดูกาลตลอดทั้งปี [1]
    • สมมติว่าบริษัทโทรคมนาคมที่กล่าวมามีจำนวนการออกจากงานโดยรวมทั้งปีอยู่ที่ 62
    • และจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น 20% ในไตรมาสสุดท้ายของปีซึ่งเป็นช่วงที่งานยุ่ง ดังนั้น พวกเขามีพนักงานเฉลี่ยน 155 คนในสามไตรมาสก่อนหน้า และค่าเฉลี่ยในไตรมาสสุดท้ายอยู่ที่ 186 คน
    • บอกไว้ก่อนว่าใน 1 ปีใน 4 ไตรมาส คุณควรจะคำนวณถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักด้วยสมการ
    • คุณควรจะต้องใช้จำนวนสัปดาห์ทำงาน ซึ่งมี 52 สัปดาห์ใน 1 ปี ในช่วง 3 ไตรมาสแรกมี 3 สัปดาห์ และไตรมาสสุดท้ายมี 13 สัปดาห์ ใช้สมการ
    • สุดท้าย คุณจะต้องใช้จำนวนชั่วโมงทำงาน ใน 1 ปีมีชั่วโมงทำงานจำนวน 2080 ชั่วโมง ในช่วง 3 ไตรมาสแรกมี 1,560 ชั่วโมง และในไตรมาสสุดท้ายมี 520 ชั่วโมง ให้ใช้สมการ
    • จำนวนพนักงานถัวเฉลี่ยนถ่วงน้ำหนักในบริษัทนี้คือ 162.75
    • คำนวณอัตราการออกจากงานด้วยสมการ หรือ 38.09%
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

คาดการณ์อัตราการออกจากงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. เข้าใจถึงคุณค่าของการคาดการณ์อัตราการออกจากงาน. ในขณะที่การดูอัตราการออกจากงานย้อนหลังจะเป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ธุรกิจต้องสามารถคาดการณ์อัตราการออกจากงานได้ เพื่อวัดประสิทธิภาพของบริษัทในอนาคต ผลคาดการณ์อัตราการออกจากงานสามารถเปรียบเทียบกับอัตราการออกจากงานของบริษัทอื่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมหรือภาคส่วนเดียวกันได้ ถ้าคุณคาดการณ์อัตราการออกจากงานที่แย่เกินไป ธุรกิจอาจจะต้องใช้กลยุทธ์ที่ลดการลาออกของลูกจ้าง
  2. ถ้าคุณรู้ตัวเลขของการออกจากงานประมาณ 2-3 เดือน คุณสามารถประเมินข้อมูลนี้เป็นตลอดทั้งปีได้ จำไว้ว่าตัวเลขนี้เป็นการคาดการณ์ ซึ่งอาจจะไม่ได้คำนวณเผื่อการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลที่ส่งผลต่ออัตราการออกจากงานจริงๆ [2]
    • ใช้สมการ .
    • = อัตราการออกจากงานที่คาดการณ์รายปี
    • = อัตราการออกจากงานเท่าที่รู้ข้อมูล
    • = จำนวนช่วงเวลาที่สำรวจ
  3. คำนวณอัตราการออกจากงานรายปีโดยใช้ข้อมูลรายเดือน. สมมติว่าบริษัทหนึ่งต้องการใช้ข้อมูลในเดือนมกราคมถึงพฤษภาคมเพื่อคำนวณอัตราการออกจากงานรายปี ในวันที่ 1 มกราคมมีพนักงาน 2,050 คน จำนวนการลาออกคือ 125 และจำนวนพนักงานจ้างใหม่คือ 122 ดังนั้น จำนวนพนักงานล่าสุดคือ 2,047 คน
    • คำนวณอัตราการออกจากงานจากข้อมูลเท่าที่รู้ จำนวนพนักงานเฉลี่ยอยู่ที่ 2,048.5 () ดังนั้น อัตราการออกจากงานเท่าที่รู้จะอยู่ที่ 6.1% ()
    • คำนวณอัตราการออกจากงานเป็นรายปี อัตราการออกจากงานเท่าที่รู้อยู่ที่ 6.1% และจำนวนช่วงเวลาที่สำรวจคือ 5 (มกราคมถึงพฤษภาคม)
    • ดังนั้น อัตราการออกจากงานโดยประมาณรายปีคือ 15.3%
  4. คำนวณโดยใช้สมการเดียวกัน เพียงแต่เปลี่ยนจาก 12 เดือนเป็น 3 เดือน ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าบริษัทเดียวกับที่กล่าวมาข้างต้นต้องการใช้ข้อมูลจากเดือนเมษายนและพฤษภาคมเพื่อคาดการณ์การออกจากงานทั้งไตรมาส ในวันที่ 1 เมษายน บริษัทมีพนักงาน 2,049 คน ส่วนจำนวนการออกจากงานในเดือนเมษายนและพฤษภาคมคือ 37 และจำนวนพนักงานใหม่คือ 35 ดังนั้น จำนวนพนักงานล่าสุดในวันที่ 31 พฤษภาคมคือ 2,047 คน
    • คำนวณอัตราการออกจากงานรายไตรมาสจากข้อมูลเท่าที่รู้ จำนวนพนักงานโดยเฉลี่ยคือ 2,048 () อัตราการออกจากงานใน 2 เดือนดังกล่าวคือ 1.81%
    • คาดการณ์อัตราการออกจากงานสำหรับเดือนที่เหลือในไตรมาส อัตราการออกจากงานเท่าที่รู้ตอนนี้คือ 1.81% และ จำนวนช่วงเวลาที่สำรวจคือ 2 (เมษายนและพฤษภาคม)
    • อัตราการออกจากงานสำหรับไตรมาสที่สองคือ 2.73%
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

วิเคราะห์ผลกระทบของอัตราการออกจากงาน

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ลูกค้าจะประเมินความพึงพอใจต่อบริษัทจากความสัมพันธ์กับลูกจ้าง ลูกค้าอาจจะคิดว่าพวกเขากำลังซื้อสินค้าด้อยค่าหรือได้รับบริการที่ไม่ดีพอเพราะการเปลี่ยนแปลงในฝ่ายบุคคล พวกเขาตัดสินอัตราการออกจากงานเป็นการลดระดับพนักงานหรือขาดกำลังใจและแรงผลักดันในการเป็นลูกจ้างต่อ [3]
  2. อัตราการออกจากงานส่งผลต่อหัวใจสำคัญของบริษัท. ถ้าธุรกิจสูญเสียลูกค้าเนื่องจากอัตราการออกจากงานที่สูง นั่นย่อมส่งผลอย่างร้ายแรงต่อบริษัท มี งานวิจัยสรุปผลว่าอัตราการออกจากงานที่สูงนั้นส่งผลต่อกำไรของบริษัทมากถึง 400% โดยสำรวจจากบริษัทที่ให้บริการชั่วคราวที่ต่างสาขากัน สาขาที่มีอัตราการออกจากงานสูงมีแนวโน้มที่กำไรจะลดลงมากกว่าอัตราการออกจากงานที่ต่ำกว่าถึง 4 เท่า [4] [5]
  3. เพิ่มอัตราการคงอยู่ของพนักงานเพื่อรักษาเงินของบริษัทเอาไว้. เมื่อพนักงานลาออก บริษัทจะต้องใช้เงินจำนวน 1-5 เท่าของเงินเดือนพนักงานคนนั้นเพื่อหาพนักงานทดแทน ถ้าธุรกิจประสบกับปัญหาอัตราการออกจากงานสูง ปัญหาก็จะส่งผลออกมาในรูปแบบของต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นอย่างมาก และกำลังการผลิตก็ลดลงจนกว่าพนักงานใหม่จะเรียนรู้งานที่มีส่วนช่วยเพิ่มรายได้ บริษัทสามารถหลีกเลี่ยงค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้การส่งเสริมนโยบายที่พัฒนาการคงอยู่ของพนักงานเอาไว้ ความยืดหยุ่นด้านสถานที่ทำงาน เพิ่มวันลาป่วย และเงินชดเชยเพื่อดูแลครอบครัว สิ่งเหล่านี้อาจจะช่วยลดการสูญเสียพนักงานได้ [6]
    โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ข้ออ้างดีๆ ในการลางานอย่างกะทันหันลางานแบบเนียนๆ ให้เจ้านายจับไม่ได้ด้วย 20 ข้ออ้างลางานกะทันหันที่ทำให้การลางานน่าเชื่อถือ
ส่งข้อความลาป่วยหาหัวหน้าอย่างไรให้ดูเป็นมืออาชีพส่งข้อความลาป่วยหาหัวหน้าอย่างไรให้ดูเป็นมืออาชีพ
บอกลาเพื่อนร่วมงานบอกลาเพื่อนร่วมงาน
หาสปอนเซอร์หาสปอนเซอร์
เขียนอีเมลติดตามผลการสมัครงานเขียนอีเมลติดตามผลการสมัครงาน
ลาออกอย่างสง่างามลาออกอย่างสง่างาม
เป็นดาราหนังโป๊เป็นดาราหนังโป๊
ส่งมอบงานต่อส่งมอบงานต่อ
จัดงานเลี้ยงอำลาจัดงานเลี้ยงอำลา
เขียนจดหมายธุรกิจถึงลูกค้าเขียนจดหมายธุรกิจถึงลูกค้า
เขียนหนังสือรับรองการทำงานเขียนหนังสือรับรองการทำงาน
เขียนแบบประเมินตนเองเขียนแบบประเมินตนเอง
เป็นพนักงานต้อนรับที่ดีเป็นพนักงานต้อนรับที่ดี
เขียนแผนกลยุทธ์สำหรับองค์กรเขียนแผนกลยุทธ์สำหรับองค์กร
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

Paridhi Jain
ร่วมเขียน โดย:
Paridhi Jain
บทความนี้ร่วมเขียนโดย Paridhi Jain หนึ่งในผู้ร่วมเขียนบทความของเรา ผู้ร่วมเขียนบทความของเราจะทำงานร่วมกับบรรณาธิการอย่างใกล้ชิด เพื่อความมั่นใจว่าบทความนั้นถูกต้องและมีเนื้อหาครอบคลุมมากที่สุด บทความนี้ถูกเข้าชม 42,961 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 42,961 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา