ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การรอคอยผลการสมัครงานอยู่นานหลังจากส่งใบสมัครไปแล้วนั้นอาจดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุดและทำให้เราท้อแท้ การติดต่อกับบริษัทโดยตรงเพื่อทราบผลการสมัครงานเป็นการแสดงถึงความมุ่งมั่นตั้งใจอยากทำงานของเรา แต่ถ้าต้องการแสดงความเป็นมืออาชีพและไม่ได้เร่งรีบอะไรมากนัก เราสามารถเขียนอีเมลเพื่อติดตามผลการสมัครงานได้ อีกทั้งทำให้การติดต่อกันนี้เป็นการสร้างความประทับใจดีๆ อันไม่รู้ลืมให้แก่ผู้รับด้วย

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 1:

เขียนอีเมลติดตามผล

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ถึงแม้จะมีคำแนะนำเรื่องระยะเวลาการรอผลสมัครงานอยู่มากมาย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเห็นพ้องต้องกันว่าควรรออย่างน้อยสามถึงห้าวันถึงจะสอบถามผลการสมัครงาน บางคนบอกว่าควรรอสักหนึ่งสัปดาห์หรือนานกว่านั้น แต่บางคนบอกว่ารอแค่ห้าวันทำการก็พอ แค่พึงระลึกไว้เสมอว่ามีผู้สมัครตำแหน่งเดียวกับเราหลายสิบหรือแม้แต่เป็นหลายร้อยคน ต้องใช้เวลาดูใบสมัครและค้นหาผู้สมัครที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในรอบต่อไป ฉะนั้นถ้าไม่ต้องการดูเหมือนคนใจร้อนหรือไม่มีความอดทน อย่ารีบถามผลการสมัครงานเร็วเกินไปนัก [1]
    • ในความเป็นจริงแล้ว ผู้รับสมัครบางรายกล่าวว่าไม่อยากได้รับอีเมลติดตามผลการสมัครงานเลย ผู้รับสมัครเหล่านี้คิดว่าการทำแบบนี้เป็นการเรียกร้องความสนใจและทำให้พวกเขาเสียเวลาการคัดเลือกผู้สมัครคนอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสม แต่ผู้รับสมัครบางคนกล่าวว่าการติดตามผลการสมัครงานจะทำให้ผู้สมัครงานคนนั้นโดดเด่นและน่าสนใจ เป็นการแสดงความกระตือรือร้นและความอยากทำงานในตำแน่งที่สมัครนี้ [2]
  2. ถ้าให้เหมาะสมที่สุดควรเขียนอีเมลถึงบุคคลเดียวกับที่เราส่งจดหมายสมัครงานไปให้ ถ้ารู้ชื่อผู้รับสมัคร ก็สามารถเขียนอีเมลไปสอบถามผลจากเขาได้เลย แต่ถ้าค้นหามาอย่างละเอียดแล้วก็ยังไม่รู้ชื่อผู้รับสมัคร อาจเขียนถึงผู้รับว่า “เรียนผู้จัดการฝ่ายบุคคล” [3]
    • ถ้าลองเข้าสืบค้นข้อมูลผู้รับสมัครในเว็บไซต์ของบริษัท เราอาจพบข้อมูลติดต่อผู้รับสมัครก็ได้
    • อาจลองตรวจสอบที่เพจของบริษัทในเว็บไซต์ Linked In ก็ได้ เผื่อเราจะได้รู้ข้อมูลติดต่อผู้รับสมัคร
    • ไม่ควรโทรไปถามชื่อผู้รับสมัครที่บริษัท ถ้าไม่พบชื่อที่ข้อมูลติดต่อ อย่าโทรไปถาม
    • ตรวจสอบตัวสะกดของชื่อให้ถูกต้อง ไม่มีอะไรสามารถทำให้เสียความรู้สึกได้อย่างรวดเร็วเท่ากับการสะกดชื่อผู้ติดต่อผิด
  3. เมื่อรู้ชื่อผู้รับสมัครแล้ว ให้เขียนคำว่า “เรียน” นำหน้าชื่อก่อนที่จะเข้าสู่ส่วนเนื้อหาของอีเมลเหมือนอย่างที่เราเขียนจดหมายสมัครงานว่า “เรียน คุณพิชยะ” นี้เป็นการทักทายที่เหมาะสม อย่าใช้คำทักทายที่แสดงความสนิทสนมหรือเป็นกันเองและอย่าเขียนทักทายว่า “สวัสดี” หรือ “หวัดดี” แค่เพราะเห็นว่านี้เป็นการติดต่อกันทางอีเมล ไม่ว่าอย่างไรการรักษาความเป็นทางการเอาไว้คือสิ่งสำคัญ
    • สำหรับหัวข้ออีเมล อาจเป็นหัวข้อที่เรียบง่ายและชัดเจนอย่างเช่น “สอบถามผลการสมัครงานตำแหน่งบรรณาธิการ” ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว ถ้าตำแหน่งนั้นมีหมายเลขอ้างอิงหรือหมายเลขรหัสงาน เราอาจเพิ่มใส่ในหัวข้อด้วย
    • พึงระลึกไว้ว่าผู้รับสมัครอาจเปิดรับสมัครหลายตำแหน่งในคราวเดียว ฉะนั้นเราจึงต้องระบุลงไปให้ชัดเจนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราอาจเขียนชื่อของตนเองไว้ที่หัวข้อเพื่อให้ผู้รับสมัครหาใบสมัครของเราพบง่ายขึ้น
  4. บอกว่าเราได้สมัครตำแหน่งอะไรไปและสมัครเมื่อไร. เขียนให้สั้นและชัดเจน เริ่มด้วยการบอกว่าเราสมัครตำแหน่งนี้เมื่อไร พบข่าวการรับสมัครตำแหน่งนี้ได้อย่างไร และแจ้งว่าเรายังไม่ได้รับการตอบกลับ อาจบอกเพิ่มเติมไปว่าเราอยากได้รับการยืนยันให้มั่นใจว่าผู้รับสมัครได้รับเอกสารของเรา ถ้าหากว่าเรายังไม่ได้รับการยืนยันว่าทางนั้นได้รับเอกสารของเราแล้ว นี้เป็นการติดตามผลของการสมัครงานอย่างลับๆ เราอาจเขียนข้อความอย่างเรียบง่ายได้ว่า [4]
    • เรียนคุณพิชยะ
      เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันได้สมัครตำแหน่งบรรณาธิการที่ลงประกาศไว้ใน JobBKK ฉันยังไม่ได้รับการตอบกลับจากสำนักพิมพ์ใยไหมเรื่องตำแหน่งงานที่สมัครไปนั้นและอยากให้ท่านช่วยยืนยันว่าได้รับใบสมัครของดิฉันแล้ว.
  5. แสดงความสนใจและบอกถึงคุณสมบัติที่ทำให้เราเหมาะสมกับงานตำแหน่งนี้. คราวนี้ให้เขียนสักหนึ่งหรือสองประโยค บอกผู้รับสมัครว่าเราตื่นเต้นที่ได้สมัครงานตำแหน่งนี้และอธิบายเหตุผลว่าทำไมเราถึงเหมาะที่จะทำงานตำแหน่งนี้อย่างยิ่ง การแสดงความสนใจและบอกถึงคุณสมบัติของตนเป็นมากกว่าอีเมล “ติดตามผล” ที่น่ารำคาญ แต่เป็นอีเมลฉบับหนึ่งที่ยืนยันคุณสมบัติอันเหมาะสมต่อตำแหน่งงานของเรา เราอาจบอกอย่างชัดเจนได้ดังนี้[5]
    • ดิฉันมีความสนใจและประสบการณ์ที่เหมาะสมกับการทำงานตำแหน่งนี้อย่างยิ่ง ดิฉันเคยเป็นบรรณาธิการให้นิตยสารแนวไลฟ์สไตล์มาห้าปีและดีใจที่จะได้มีโอกาสใช้และพัฒนาประสบการณ์ด้านการเขียนและเรียบเรียงให้เชี่ยวชาญยิ่งขึ้นในการทำงานกับบริษัทของท่าน
  6. ปิดท้ายด้วยถ้อยคำดีๆ บอกว่าเรารอที่จะได้รับการติดต่อกลับมา พร้อมทั้งส่งไฟล์ใดๆ ที่ยังไม่ได้ส่งไปให้เรียบร้อย หรือถ้ามีไฟล์ที่ส่งไปแล้ว แต่มีข้อผิดพลาดหรือส่งไฟล์ไปผิด ให้แก้ไขและใช้โอกาสนี้ส่งไปใหม่ รวมทั้งยืนยันข้อมูลในการติดต่อเราอีกครั้งและขอบคุณผู้รับสมัครที่สละเวลา เขียนให้สั้นและชัดเจนแต่ก็ต้องแสดงให้ผู้รับสมัครเห็นว่างานในตำแหน่งนี้มีความสำคัญสำหรับเรามากแค่ไหน เราอาจเขียนไปว่า:
    • กรุณาติดต่อดิฉันถ้าท่านมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับคุณสมบัติของดิฉันหรือต้องการเอกสารเพิ่มเติมใดๆ ดิฉันรอการติดต่อจากท่านและขอบคุณที่สละเวลา.
      ขอแสดงความนับถือ
      มัณฑนา เจริญยิ่ง
  7. ทิ้งอีเมลที่เขียนเสร็จแล้วไว้สักพักและกลับมาตรวจดู ตรวจสอบความถูกต้องของตัวสะกดและไวยากรณ์ ประเมินและปรับภาษาให้อ่านได้อย่างไหลลื่น การตรวจสอบ แก้ไข และปรับภาษาก่อนส่งอีเมลสำคัญพอกับการส่งจดหมายสมัครงานที่สละสลวยและเรซูเม่ ฉะนั้นควรเอาใจใส่และเขียนออกมาให้ดี
    • อาจแม้แต่ลองอ่านออกเสียงอีเมลที่เขียนออกมาดังๆ เพื่อให้มั่นใจว่าอีเมลฉบับนี้ผู้อ่านสามารถอ่านได้อย่างไหลลื่นและเข้าใจ การอ่านออกมาดังๆ ยังทำให้เรารู้ตัวว่าสิ่งที่เขียนลงไปนั้นแสดงถึงความสนใจตำแหน่งงานและเคารพผู้อ่านอยู่หรือไม่
  8. พอตรวจทานอีเมลเป็นอย่างดีและพอใจกับถ้อยคำที่เขียนลงไปแล้ว ให้ส่งอีเมล จงส่งอีเมลไปแค่ครั้งเดียวก็พอ เพราะผู้รับสมัครไม่ได้ต้องการอีเมลถึง 50 ฉบับจากเรา ฉะนั้นไม่ต้องคลิกส่งหลายที ก่อนส่ง ให้หายใจเข้าลึกๆ คลิกส่ง และอยู่ห่างจากคอมพิวเตอร์ไปสักพัก
  9. 9
    ผ่อนคลายและรอ. ตอนนี้เราได้ส่งอีเมลไปแล้ว ฉะนั้นจงผ่อนคลายและรอการตอบกลับ อย่าเพิ่งโทรศัพท์ไปสอบถามผลการสมัคร หลังจากส่งอีเมลไป 30 นาที เพราะต้องการคำยืนยันจากผู้รับสมัครว่าได้อีเมลหรือไม่และอย่าเพิ่งส่งอีเมลไปถามผลการสมัครวันรุ่งขึ้น เมื่อส่งอีเมลไปแล้ว ให้ถือเสียว่าตนเองได้พยายามสมัครงานตำแหน่งนั้นอย่างถึงที่สุดแล้ว เพราะได้ส่งใบสมัครที่ดีที่สุดและส่งอีเมลติดตามผลการสมัครไปแล้ว จงมั่นใจว่าเรซูเม่ที่ดีและการแสดงความเอาใจใส่ด้วยการส่งอีเมลไปติดตามผลของการสมัครจะทำให้ผู้สมัครเห็นความตั้งใจและเรียกมาสัมภาษณ์งาน
    • อย่าท้อแท้ถ้าเราไม่ได้รับอีเมลตอบกลับ ผู้รับสมัครอาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ดูใบสมัครเพื่อหาผู้สมัครที่เหมาะสมและผู้รับสมัครบางคนอาจไม่ได้อ่านเมลของเราเลยเพราะงานยุ่ง ฉะนั้นพยายามอย่าถือเอาเป็นเรื่องใหญ่ และหาโอกาสสมัครงานที่ใหม่
    • ถึงแม้อาจอยากใช้วิธีสอบถามทางโทรศัพท์ แต่ก็ควรแน่ใจว่าตนเองได้อดทนรอมาพอสมควรแล้ว การสอบถามทางโทรศัพท์จะทำให้เราเป็นผู้สมัครที่โดดเด่นก็จริง แต่ก็ยังทำให้เราดูเหมือนไม่มีความอดทนด้วย ฉะนั้นเราต้องโทรไปสอบถามด้วยความมั่นใจ ทำให้ผู้รับสมัครเห็นว่าเรานั้นเหมาะกับงาน และแสดงความเคารพผู้รับสมัครด้วย ถ้าเราตัดสินใจที่จะโทรศัพท์ไป
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • ควรดูอีเมลแอดเดรสด้วยว่าเหมาะสมกับการสมัครงานไหม อีเมลแอดเดรสอย่าง “hotsurferdude” หรือ “shopaholicgirl” เป็นชื่อที่เหมาะสมสำหรับการสมัครหรือเปล่า เราอาจต้องสร้างบัญชีใหม่โดยใช้ชื่อของเราหรือตั้งชื่อบัญชีผู้ใช้ในแบบที่ดูเป็นมืออาชีพมากกว่านี้ การตั้งอีเมลแอดเดรสให้เหมาะสมก็เป็นส่วนหนึ่งของการติดต่อสื่อสารผ่านทางอีเมลและบ่งบอกภาพลักษณ์ของเราให้ผู้รับสมัครทราบด้วย ฉะนั้นจึงควรตั้งชื่ออีเมลแอดเดรสให้เหมาะสมด้วย
  • พึงระลึกไว้ว่าผู้รับสมัครเองก็มีงานของตนต้องทำไปพร้อมกับการคัดเลือกคนเข้าทำงาน ฉะนั้นจงเขียนอีเมลที่สั้นกระชับและแสดงถึงความเคารพผู้รับ จะได้ช่วยให้การส่งอีเมลเป็นไปอย่างราบรื่น
  • ตรวจสอบลายเซ็นอีเมลของตนเองด้วยว่าดูมีความเป็นมืออาชีพไหม บางครั้งเวลาเราส่งเมลให้เพื่อน เรามักจะใช้ชื่อเล่น หรือลงท้ายด้วยข้อความ หรือรูปภาพตลกๆ หลังจากลงชื่อของเรา แต่ถ้ากำลังส่งอีเมลสำหรับสมัครงาน เราต้องแสดงความจริงจัง และทำให้อีเมลที่ต้องการส่งไปนั้นแสดงความจริงจังของเราด้วย ฉะนั้นจึงไม่ควรเขียนอีเมลในแบบเดียวกับที่ส่งให้เพื่อนฝูง
  • เขียนอีเมลสอบถามผลการสมัครงานให้ออกมาดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ อีเมลฉบับนี้จะได้ช่วยให้ผู้รับสมัครติดตามและย้อนกลับมาอ่านอีเมลก่อนหน้าของเราได้ ถ้าหากเขายังไม่ได้อ่าน หรือจะได้ช่วยให้เขากลับมาพิจารณาคุณสมบัติของเราใหม่อีกครั้ง
  • เลือกตัวอักษรแบบมาตรฐานเวลาเขียนอีเมลสมัครงาน การใช้ตัวอักษรหนาสีชมพูอาจเหมาะกับการส่งอีเมลให้เพื่อน ถ้าเราต้องการแสดงความเป็นมืออาชีพ ขอแนะนำให้ใช้ Arial และTimes New Roman หรือแบบอักษรอื่นๆ ที่อ่านง่ายและใช้ตัวอักษรสีดำ
โฆษณา

คำเตือน

  • อย่าเร่งเร้า เอาแต่คอยถาม หรือยกตนข่มผู้อื่น อย่าแสดงความหยาบคายลงในอีเมลถึงผู้รับสมัคร เพราะเขาเป็นผู้ตัดสินใจขั้นสุดท้าย ผู้รับสมัครเข้าใจว่าการที่เราได้รับเข้าทำงานนั้นสำคัญสำหรับเรา แต่โดยส่วนใหญ่แล้วการสรรหาคนมาทำงานเป็นแค่งานเล็กๆ งานหนึ่งของผู้รับสมัครเท่านั้น ฉะนั้นการแสดงความหยาบคายหรือไปเร่งเร้าเขารั้งแต่จะทำให้เขามองเราในแง่ลบ
  • ระวังเวลาจ่าหน้าถึงผู้รับ เพราะโดยปกติในบริษัทขนาดใหญ่ คนที่ตอบรับใบสมัครของเราไม่จำเป็นต้องเป็นผู้รับสมัคร อาจจะเป็นใครสักคนในฝ่ายทรัพยากรบุคคลซึ่งทำงานในขั้นตอนสรรหาว่าจ้าง ฉะนั้นตรวจสอบตำแหน่งของบุคคลที่ติดต่อเราตอนที่เราส่งจดหมายไปสมัครงานด้วย ถ้าดูเหมือนว่าเป็นพนักงานคนหนึ่งในแผนกทรัพยากรบุคคล ให้สอบถามเขาอย่างสุภาพว่าผู้รับสมัครเป็นใครและจะติดต่อได้อย่างไร


โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ลบหมึกออกจากกระดาษลบหมึกออกจากกระดาษ
เขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษ
เขียนบทสรุปรายงานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ดีเขียนบทสรุปรายงานการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่ดี
เขียนจดหมายขอสปอนเซอร์เขียนจดหมายขอสปอนเซอร์
เขียนภาคผนวก (Appendix)เขียนภาคผนวก (Appendix)
เขียนวิจารณ์บทความเขียนวิจารณ์บทความ
เขียนจดหมายขอโทษเขียนจดหมายขอโทษ
เขียนจดหมายรักเขียนจดหมายรัก
ส่งอีเมลเพื่อขอฝึกงานส่งอีเมลเพื่อขอฝึกงาน
อ้างอิงเนื้อหาจากวิกิพีเดียในการเขียนแบบเอ็มแอลเอ (MLA)อ้างอิงเนื้อหาจากวิกิพีเดียในการเขียนแบบเอ็มแอลเอ (MLA)
เขียนอัตชีวประวัติเขียนอัตชีวประวัติ
ขอให้อาจารย์เขียนจดหมายแนะนำให้ผ่านทางอีเมล์ขอให้อาจารย์เขียนจดหมายแนะนำให้ผ่านทางอีเมล์
เขียนบทพูดแนะนำตัวเขียนบทพูดแนะนำตัว
เขียนบทนำงานวิจัยเขียนบทนำงานวิจัย
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

ทีมงานวิกิฮาว
ร่วมเขียน โดย:
นักเขียนในทีมวิกิฮาว
บทความนี้ร่วมเขียนโดยเหล่าบรรณาธิการและนักวิจัยที่ผ่านการฝึกฝนมาเพื่อความถูกต้องและครอบคลุมของเนื้อหา

ทีมผู้จัดการด้านเนื้อหาของวิกิฮาว จะตรวจตราผลงานจากทีมงานด้านเนื้อหาของเราเพื่อความมั่นใจว่าบทความทุกชิ้นได้มาตรฐานตามที่เราตั้งไว้ บทความนี้ถูกเข้าชม 76,543 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 76,543 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา