ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

การหาสปอนเซอร์มาช่วยลงทุนทำธุรกิจ โครงการ หรืออีเวนต์อาจจะประสบความสำเร็จอย่างสวยงามและนำไปสู่การร่วมงานอันน่าตื่นเต้นหรืออาจจะล้มเหลวแบบกู่ไม่กลับก็ได้ แต่ถ้าคุณหาสปอนเซอร์เป็น รู้วิธีเขียนข้อมูลสรุปเพื่อขอเงินลงทุนและส่งแฟ้มรวบรวมข้อมูลหาสปอนเซอร์ โอกาสที่คุณจะหาสปอนเซอร์ได้ก็จะยิ่งสูงขึ้น มาเริ่มอ่านขั้นตอนแรกที่จะช่วยให้คุณหาสปอนเซอร์ได้กันเลยดีกว่า!

วิธีการ 1
วิธีการ 1 ของ 3:

มองหาสปอนเซอร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. มองหาบริษัทที่เคยออกเงินสนับสนุนอีเวนต์หรือกิจกรรมที่คล้ายกับที่คุณจะจัด. ลองศึกษาข้อมูลของหน่วยงานอื่นๆ ที่เคยทำมาก่อนเพื่อหาแนวทางเข้าหาสปอนเซอร์ ถ้าคุณกำลังมองหาสปอนเซอร์ที่สนับสนุนกิจกรรมเกี่ยวกับการเดินหรือวิ่งเป็นพิเศษก็ลองศึกษาดูว่าใครเคยลงเงินสนับสนุนงานเดิน-วิ่งอื่นๆ ที่เคยจัดมาแล้วบ้าง การค้นคว้าจากข้อมูลที่มีอยู่แล้วเป็นการเริ่มต้นที่ดีเลยล่ะ
    • ถ้าอีเวนต์ที่คุณจะจัดเกี่ยวข้องกับกีฬาโดยตรง ลองขอให้ Nike, Adidas, Livestrong หรือหน่วยงานเกี่ยวกับกีฬาอื่นๆ มาช่วยเป็นสปอนเซอร์ให้คุณดูสิ
    • ถ้าคุณจะจัดอีเวนต์เกี่ยวกับดนตรีหรือคอนเสิร์ต ลองติดต่อสถานีวิทยุท้องถิ่น สื่อสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับดนตรี หรือหน่วยงานธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับแวดวงดนตรีดูก็ดีนะ
    • ถ้าคุณกำลังจะจัดงานอีเวนต์เกี่ยวกับอาหาร ลองติดต่อนิตยสารเกี่ยวกับอาหาร รายการโทรทัศน์เกี่ยวกับอาหารชื่อดัง หรือบริษัทผลิตอาหารยักษ์ใหญ่ดูไหมล่ะ? หวังสูงๆ ไว้น่ะดีแล้ว
  2. สรุปรายชื่อหน่วยงานที่อาจสนใจเป็นสปอนเซอร์ให้คุณ. การหาหน่วยงานที่น่าจะสนใจเป็นสปอนเซอร์ไว้เยอะๆ ก็ดีอยู่หรอก แต่ก็ใช่ว่าคุณต้องเที่ยวขอร้องทุกคนหรือทุกบริษัทที่คุณรู้จักให้มาเป็นสปอนเซอร์ให้นะ รายชื่อที่ว่านี้ควรจะมีแต่ชื่อของหน่วยงานที่มีโอกาสจะช่วยคุณจริงๆ เท่านั้นซึ่งก็คือคนหรือบริษัทที่จะพิจารณาคำร้องขอสปอนเซอร์ของคุณอย่างจริงจัง เขียนรายชื่อของบริษัทที่เคยเป็นสปอนเซอร์ให้คุณมาก่อนและบริษัทที่เคยเป็นสปอนเซอร์จัดงานอะไรที่ใกล้เคียงกับงานที่คุณจะจัด แล้วก็อย่าลืมเขียนรายชื่อบริษัทที่คุณรู้จักคนในนั้นเป็นการส่วนตัวด้วยล่ะเผื่อจะหาสปอนเซอร์ได้จากที่นั่นไง
  3. หาข้อมูลเกี่ยวกับทุกบริษัทและทุกคนที่คุณเขียนสรุปไว้. การมีข้อมูลของหน่วยงานที่มีโอกาสเป็นสปอนเซอร์เก็บไว้จะช่วยให้คุณหาสปอนเซอร์ได้มากกว่าเดิมเยอะเลยล่ะ ลองคิดดูดีๆ ว่าหน่วยงานต่างๆ จะได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการเป็นสปอนเซอร์ให้คุณ
  4. คุณอาจวางแผนเข้าหาหน่วยงานเพื่อขอให้เป็นสปอนเซอร์ได้ด้วยการศึกษาข้อมูลสถิติ แผนการธุรกิจและเป้าหมายของหน่วยงานนั้นๆ
    • การติดต่อขอให้ธุรกิจในชุมชนมาเป็นสปอนเซอร์ให้อาจจะง่ายกว่าการติดต่อบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Nike ถึงแม้ Nike จะมีเงินลงทุนมหาศาล แต่บริษัทใหญ่ๆ แบบนี้ก็อาจจะได้รับการติดต่อขอสปอนเซอร์จากหน่วยงานมากมายอยู่เกือบทุกอาทิตย์อยู่แล้ว ในขณะที่อาจจะไม่ค่อยมีคนติดต่อขอสปอนเซอร์จากสถานีวิทยุหรือร้านขายเครื่องกีฬาในท้องถิ่นเท่าไหร่นัก ถ้าลูกค้าของคุณกับธุรกิจท้องถิ่นเหล่านั้นเป็นกลุ่มเดียวกัน โอกาสที่คุณจะสร้างรายได้ให้สปอนเซอร์ก็จะมากขึ้นไปด้วย
    • ลองพูดถึงสปอนเซอร์รายหนึ่งให้อีกรายฟัง ถ้าร้านขายเครื่องกีฬาร้านใหญ่รายหนึ่งมีทีท่าจะตกลงเป็นสปอนเซอร์ให้คุณประมาณหนึ่งแล้ว ลองพูดเรื่องนี้ให้ร้านขายเครื่องกีฬาอีกร้านฟังแล้วเขาก็จะเข้าใจเจตนาคุณเองแหละ[1]
    โฆษณา
วิธีการ 2
วิธีการ 2 ของ 3:

เตรียมแฟ้มข้อมูลสำหรับส่งให้สปอนเซอร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. แฟ้มข้อมูลที่คุณจะส่งให้สปอนเซอร์ต้องเริ่มด้วยข้อมูลสรุปหรือแถลงการณ์เกี่ยวกับเป้าหมายของการจัดอีเวนต์หรือการลงทุนที่คุณอยากได้สปอนเซอร์มาช่วย โดยควรเขียนข้อความยาวประมาณ 250–300 คำเพื่ออธิบายว่าเงินลงทุนที่ได้มาจากสปอนเซอร์จะนำไปใช้ในส่วนใดบ้าง ทำไมคุณถึงต้องการสปอนเซอร์ และสปอนเซอร์จะได้ประโยชน์อะไรจากการช่วยเหลือคุณ
    • อย่าส่งจดหมายที่มีเนื้อหาเหมือนกันให้ทุกหน่วยงาน หน่วยงานนั้นๆ จะอ่านข้อมูลของคุณจนจบหรือไม่ก็วัดกันตรงนี้แหละ ส่งจดหมายที่แตกต่างกันไปหาแต่ละที่เพื่อที่หน่วยงานต่างๆ จะได้รู้สึกว่าคุณได้ใช้เวลาศึกษาเกี่ยวกับบริษัทของพวกเขาจริงๆ นอกจากนี้ จดหมายนี้ยังเป็นเหมือนเครื่องยืนยันให้หน่วยงานต่างๆ เห็นว่าคุณจะรักษาสัญญาที่ตกลงไว้กับสปอนเซอร์ไปตลอดการร่วมงานกัน
    • อย่าลืมขอบคุณสปอนเซอร์ที่รับพิจารณาข้อเสนอของคุณ ส่งจดหมายที่เขียนด้วยภาษาเป็นกันเองแต่ยังรักษาความเป็นมืออาชีพไปให้สปอนเซอร์เพื่อแสดงว่าคุณจริงจังกับงานและมีความเป็นมืออาชีพมากพอ
  2. ถ้าคุณยังไม่ได้ทำก็ลองเขียนงบประมาณที่ต้องการให้มีคนมาช่วยสนับสนุนเพื่อทำธุรกิจหรือร่วมลงทุนดูและคิดดูว่าคุณต้องการเงินลงทุนเท่าไหร่จากสปอนเซอร์เจ้าใดบ้าง แบ่งสปอนเซอร์ออกเป็นระดับต่างๆ เพื่อที่หน่วยงานที่สนใจจะมาช่วยลงทุนจะได้ให้เงินตามระดับที่คุณแบ่งไว้โดยคุณต้องอธิบายได้ว่าทำไมคุณถึงต้องการเงินสนับสนุนและอยากมีให้สปอนเซอร์มาช่วยเท่านั้นเท่านี้
    • อธิบายได้ว่าสปอนเซอร์จะได้อะไรจากการช่วยคุณบ้าง ใช้ความรู้เกี่ยวกับแผนธุรกิจ กลุ่มลูกค้าและเป้าหมายของบริษัทนั้นๆ ที่คุณหามาเพื่อดึงดูดใจสปอนเซอร์และชี้แจงได้ว่าทางนั้นจะได้อะไรจากการช่วยลงทุนให้คุณ โดยคุณอาจพูดถึงพื้นที่สื่อหรือโอกาสในการโฆษณาสินค้าที่สปอนเซอร์จะได้จากงานนี้ก็ได้
  3. โดยจดหมายนี้อาจเป็นแบบฟอร์มที่หน่วยงานต่างๆ สามารถกรอกและส่งกลับมาให้คุณหรือเป็นข้อมูลติดต่อของคุณที่อีกฝ่ายสามารถติดต่อกลับมาได้เพื่อพูดคุยกันเรื่องเป็นสปอนเซอร์
    • คุณต้องมีอะไรที่ชัดเจนให้สปอนเซอร์ทำเพื่อที่จะได้ดำเนินไปสู่ขั้นตอนต่อไป ทำให้อีกฝ่ายรู้สึกสะดวกสบายเข้าไว้ ยิ่งอีกฝ่ายดำเนินการเรื่องต่างๆ ได้ง่ายดายเท่าไหร่ โอกาสที่จะตอบตกลงก็จะยิ่งสูง
  4. คุณกำลังเขียนจดหมายหานักการตลาด เจ้าของกิจการและนักธุรกิจไม่ใช่นักวิชาการ ฉะนั้น นี่ไม่ใช่เวลาจะมาเขียนภาษาเลิศหรูโชว์ศัพท์สูงเพื่อให้ตัวเองดูฉลาด คุณต้องนำเสนอตัวเอง เขียนประโยชน์ทางธุรกิจที่สปอนเซอร์จะได้และจบการนำเสนอให้รวดเร็วที่สุด เขียนจดหมายออกมาให้สั้นแต่ดูดีน่ะ เข้าใจป่ะ?[2]
    โฆษณา
วิธีการ 3
วิธีการ 3 ของ 3:

ส่งแฟ้มข้อมูลหาสปอนเซอร์

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณอาจจะอยากส่งแฟ้มข้อมูลไปให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้หรืออยากไปจ้างคนออกแบบป้ายประกาศเพื่อที่จะได้โฆษณาไปทั่วทุกหัวมุมถนน แต่นั่นเป็นความคิดที่ผิด คุณควรจะคิดให้ดีก่อนว่าน่าจะส่งแฟ้มไปหาใครบ้างและส่งไปให้บริษัทที่คุณคิดว่าน่าจะอยากสนับสนุนธุรกิจของคุณเท่านั้น
  2. แต่ละแฟ้มข้อมูลที่คุณส่งหาสปอนเซอร์ต้องมีความเฉพาะเจาะจง. เตรียมเอกสารที่แตกต่างกันไปให้แต่ละบริษัท ไม่ว่าจะเป็นอีเมล แฟ้มหรือจดหมายติดต่อ การทำตัวขี้เกียจมีแต่จะทำให้ไม่มีใครสนใจลงทุนเป็นสปอนเซอร์ให้คุณแม้ว่าโครงการนั้นจะน่าสนใจแค่ไหนก็ตาม
  3. รอซักสองสามวันแล้วค่อยโทรหาคนที่คุณส่งแฟ้มข้อมูลไปให้ ถามทางนั้นว่าได้รับคำขอของคุณหรือยังและมีคำถามอะไรอยากรู้เพิ่มเติมไหม สปอนเซอร์ต้องรู้ว่าจะติดต่อคุณได้อย่างไรเมื่อตัดสินใจได้แล้ว
  4. ดูแลสปอนเซอร์แต่ละรายอย่างเป็นการเฉพาะเมื่อทางนั้นได้ตกลงช่วยเหลือคุณแล้ว. ถ้ามีบริษัทนึงช่วยเงินคุณ 300,000 บาท คุณก็ต้องดูแลที่นี่แตกต่างจากอีกบริษัทที่ช่วยเหลือไม่กี่พันบาทใช่ไหมล่ะ? ความเอาใจใส่ที่คุณมีแต่สปอนเซอร์นั้นต้องแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดและเป็นรูปธรรม ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์เพิ่มเติมด้านการโฆษณาที่คุณจะให้ได้หรือวิธีการพูดจาทางโทรศัพท์ก็ตาม คุณต้องเลี้ยงดูปูเสื่ออีกฝ่ายให้ดีเพื่อที่สปอนเซอร์จะได้มีความสุขและติดใจอยากช่วยเหลือคุณอีก
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • คิดถึงหน่วยงานที่อาจเป็นสปอนเซอร์ให้คุณได้ซะตั้งแต่ตอนนี้ เพราะคุณอาจจะมีกำหนดเวลาที่ต้องหาสปอนเซอร์ให้ทัน ยิ่งคุณมีเวลาหาสปอนเซอร์มากเท่าไหร่ก็ยิ่งดี โดยหลักการแล้วคุณควรมีเวลาอย่างน้อยสามถึงสี่เดือนเพื่อที่จะหาสปอนเซอร์นะ
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ข้ออ้างดีๆ ในการลางานอย่างกะทันหันลางานแบบเนียนๆ ให้เจ้านายจับไม่ได้ด้วย 20 ข้ออ้างลางานกะทันหันที่ทำให้การลางานน่าเชื่อถือ
ส่งข้อความลาป่วยหาหัวหน้าอย่างไรให้ดูเป็นมืออาชีพส่งข้อความลาป่วยหาหัวหน้าอย่างไรให้ดูเป็นมืออาชีพ
บอกลาเพื่อนร่วมงานบอกลาเพื่อนร่วมงาน
เขียนอีเมลติดตามผลการสมัครงานเขียนอีเมลติดตามผลการสมัครงาน
เป็นดาราหนังโป๊เป็นดาราหนังโป๊
จัดงานเลี้ยงอำลาจัดงานเลี้ยงอำลา
ส่งมอบงานต่อส่งมอบงานต่อ
ลาออกอย่างสง่างามลาออกอย่างสง่างาม
เขียนจดหมายธุรกิจถึงลูกค้าเขียนจดหมายธุรกิจถึงลูกค้า
เขียนแผนกลยุทธ์สำหรับองค์กรเขียนแผนกลยุทธ์สำหรับองค์กร
เขียนหนังสือรับรองการทำงานเขียนหนังสือรับรองการทำงาน
เขียนแบบประเมินตนเองเขียนแบบประเมินตนเอง
เป็นพนักงานต้อนรับที่ดีเป็นพนักงานต้อนรับที่ดี
โทรลาป่วย เมื่อคุณต้องการวันหยุดสักวันโทรลาป่วย เมื่อคุณต้องการวันหยุดสักวัน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

Ernest Sturm
ร่วมเขียน โดย:
Ernest Sturm
บทความนี้ร่วมเขียนโดย Ernest Sturm หนึ่งในผู้ร่วมเขียนบทความของเรา ผู้ร่วมเขียนบทความของเราจะทำงานร่วมกับบรรณาธิการอย่างใกล้ชิด เพื่อความมั่นใจว่าบทความนั้นถูกต้องและมีเนื้อหาครอบคลุมมากที่สุด บทความนี้ถูกเข้าชม 59,341 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 59,341 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา