ดาวน์โหลดบทความ ดาวน์โหลดบทความ

มันอาจถึงเวลาที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลงแล้ว ไม่ว่าจะเปลี่ยนเพื่อเริ่มต้นเส้นทางอาชีพใหม่ หรือแค่ต้องการมองหาความท้าทายก็ตาม ขั้นตอนในการลาออกจากงานเดิมนั้นก็ง่ายๆ แค่ยื่นใบลาออก อาจจะยื่นล่วงหน้าสักนิดก็ได้ แต่หากคุณอยากให้ทุกอย่างลื่นไหลไปด้วยดี และไม่มีผลกระทบต่อโอกาสทางหน้าที่การงานในอนาคตล่ะก็ คุณต้องใช้ความระมัดระวังและรอบคอบสักหน่อย เพราะการลาออกอาจจะง่าย แต่การออกอย่างสง่างามนั้นอาจจะไม่ บทความนี้จะช่วยถ่ายทอดวิธีการลาออกอย่างราบรื่นและไร้ความกังวลที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ให้แก่คุณ

ส่วน 1
ส่วน 1 ของ 3:

ลาออกในเวลาที่เหมาะสม

ดาวน์โหลดบทความ
  1. หลายคนลาออกในช่วงที่ตนเองรู้สึกหมดเรี่ยวแรง หรือรับภาระในหน้าที่ของตนเองต่อไปไม่ไหวแล้ว ซึ่งอาการดังกล่าวย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง แน่นอนว่า เรื่องแบบนี้ก็น่าเห็นใจอยู่ แต่หากคิดจะลาออก คุณควรเก็บเรี่ยวแรงไว้ทิ้งทวนทำงานชิ้นสุดท้ายให้เจ๋งเป้งที่สุด เพราะในอนาคตคุณอาจจะต้องใช้จดหมายอ้างอิงการทำงานจากเจ้านาย (หรืออาจได้โคจรมาร่วมงานกันอีกครั้ง) ดังนั้น มันจะดีที่สุด หากพวกเขาจดจำคุณในฐานะพนักงานดีเด่นผู้ทุ่มเทจนวินาทีสุดท้าย[1]
    • จงตระหนักว่าตนเองต้องได้รับอะไรชดเชยบ้าง เช่น หากคุณถูกเลิกจ้าง คุณก็ควรจะได้รับเงินชดเชย หรือทางเลือกในการได้รับผลตอบแทนอื่นๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์มาในกรณีที่คุณยังไม่ได้หางานใหม่เตรียมไว้ แต่การลาออกด้วยตนเอง คุณอาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนใดๆ จากบริษัทเลย ดังนั้น ในบางกรณี การรอรับสิทธิประโยชน์เหล่านี้ก่อนแล้วค่อยมองหางานใหม่ อาจจะดีกว่า
  2. หากคุณต้องการลาออกอย่างดูเหมาะสมที่สุด ก็ไม่ควรปล่อยให้เจ้านายคุณเคว้งคว้าง หรือต้องวุ่นหาพนักงานมาแทนคุณกระทันหัน คุณควรยื่นหรือแจ้งลาออกล่วงหน้าอย่างน้อยสองสัปดาห์ (หรือระยะเวลาขั้นต่ำตามข้อสัญญาก่อนเริ่มงาน) เพื่อที่เจ้านายของคุณจะได้หาคนมาแทนคุณได้ หรือหาวิธีแก้ขัดอื่นๆ ได้ทันการไปก่อน [2]
    • แม้ว่าในสัญญาจะไม่ได้กำหนดระยะเวลาขั้นต่ำเอาไว้ แต่คุณก็ควรยื่นลาออกล่วงหน้าอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เพื่อแสดงน้ำใจต่อเจ้านายของคุณ การแจ้งหรือยื่นใบลาออกล่วงหน้าช้ากว่านั้น อาจทำให้พวกเขาหาคนมาแทนไม่ทัน แต่หากยื่นเร็วกว่านั้น อาจทำให้พวกเขาเห็นหน้าคุณแล้วสงสัยว่า ทำไมคุณยังมาป้วนเปี้ยนในออฟฟิศอยู่อีก
  3. หลังจากคุณตัดสินใจว่าจะลาออกแน่แล้ว อย่าไปประกาศทั่วออฟฟิศ ทุกชั้นทุกแผนก จนกระทั่งอาจไปเข้าหูหัวหน้างานโดยตรงของคุณ พยายามคิดล่วงหน้าเหมือนเรื่องอื่นๆ และจำไว้ว่าความรู้คือพลัง
    • ให้เวลาหัวหน้างานหรือนายจ้างของคุณได้ครุ่นคิดสักหน่อย เพราะหากพวกเขาประมวลการพิจารณาและเห็นว่าควรยื่นข้อเสนอพิเศษให้คุณอยู่ การไปป่าวประกาศเรื่องการลาออกไว้ล่วงหน้า จะทำให้บรรยากาศดูกร่อยที่สุด
    • ลองดูก่อนว่าทางแผนกของคุณ จะส่งข่าวเรื่องการลาออกให้คนอื่นๆ ในออฟฟิศรู้ด้วยวิธีใด หัวหน้าของคุณอาจจะใช้วิธีการส่งอีเมลแจ้งอย่างทั่วถึงในคราวเดียว หรือปล่อยให้คุณได้เขียนและส่งในแบบของตัวเองก็ได้ ดังนั้น อย่าเพิ่งไปป่าวประกาศบอกใครๆ จนกว่าจะได้ข้อตกลงในเรื่องนี้ก่อน
  4. สิ่งนี้เป็นการแสดงทั้งความเคารพและมีวุฒิภาวะ ซึ่งเพื่อนร่วมงานและหัวหน้าของคุณย่อมจะซาบซึ้งใจ ดังนั้น พยายามทำงานที่ค้างอยู่ให้เรียบร้อยและจัดทำคู่มือในการทำงาน เพื่อส่งต่อให้ใครก็ตามที่อาจจะมาแทนตำแหน่งคุณ รวมถึงการจัดทำไฟล์เพื่อระบุตำแหน่งที่คุณเก็บเอกสารข้อมูลต่างๆ เอาไว้ ในกรณีที่เป็นงานระยะยาวต่อเนื่อง และข้อมูลใดๆ ก็ตามที่คุณคาดว่าคนที่มาแทนควรจะรู้ พยายามจัดเก็บตามลำดับ และติดป้ายเอาไว้ โดยเก็บในที่ๆ ค้นหาได้สะดวกที่สุด คุณคงไม่อยากรับสายโทรศัพท์จากพนักงานใหม่ที่กำลังหัวเสียจากการที่ค้นหาไฟล์ที่คุณเก็บไว้ไม่เจอ หลังจากที่คุณลาออกไปแล้ว[3]
    • เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณทำงานแบบเป็นทีม หลังจากการแจ้งหรือยื่นใบลาออก ล่วงหน้าสองสัปดาห์แล้ว คุณควรนัดแนะกับทีมงานของคุณเกี่ยวกับการหาคนมาสืบทอดหรือมอบหมายงานด้วย
    โฆษณา
ส่วน 2
ส่วน 2 ของ 3:

การเขียนจดหมายลาออก

ดาวน์โหลดบทความ
  1. คุณไม่ควรเขียนสิ่งที่เสื่อมเสีย หยาบคาย หรือไร้มารยาทใดๆ ก็ตามลงไป เพราะคุณอาจต้องติดต่อกับหัวหน้าคุณอีกในอนาคตก็ได้ (โอกาสที่จะกลับมาทำงานร่วมกับพวกเขาอีกก็มีอยู่) ดังนั้น จงเขียนด้วยความเคารพสักหน่อย ไม่งั้นข้อความอันน่ารังเกียจต่างๆ ในจดหมายดังกล่าวจะกลับมาหลอกหลอนคุณในสักวัน [4]
    • ตัวอย่างของสิ่งที่ไม่ควรเขียน: “ถึง คุณอมร ผมจะออกแล้วนะ ผมเบื่อที่จะทำงานที่นี่ คุณมันงี่เง่าและยังหน้าตาอุบาทว์ เงินค่าคอมฯของผมที่ค้างอยู่ 80,000 บาท ก็ยังไม่เห็นให้ผมสักที คุณทุเรศมาก – จาก ต้อม”
  2. เส้นแบ่งระหว่างจดหมายลาออกที่ดีกับจดหมายลาออกที่แย่นั้น มีนิดเดียว ดังนั้น พยายามปฏิบัติตามขั้นตอนการเขียนต่อไปนี้
    • มาตรฐานของจดหมายลาออกทั่วไป จะมีข้อความประมาณนี้: “เรียน คุณพิชัย นับเป็นเกียรติอย่างสูงที่ผมได้ร่วมงานกับ บริษัท พิชัยพาณิชย์ มาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จดหมายฉบับนี้เป็นการแจ้งให้ทางบริษัททราบว่า ผมมีความประสงค์จะลาออกไปเริ่มงานในตำแหน่งใหม่กับบริษัทอื่น ในวันที่ (ระบุวันที่ ซึ่งล่วงหน้าก่อนส่งจดหมายนี้ ประมาณ 2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อย) กรุณารับคำขอบพระคุณและความซาบซึ้งใจของผมในโอกาสที่ได้ร่วมงานกันมา รวมถึงความปรารถนาดีของผมที่มีต่อคุณและบริษัท ทั้งในปัจจุบันและอนาคต ด้วยความนับถือ นายสุชาติ แก้วสรรพ”
  3. หากคุณสนิทกับหัวหนาหรือนายจ้างมากพอ ก็อาจใช้คำพูดหรือสรรพนามที่เป็นทางการน้อยลงได้ ตามความเหมาะสม เพราะการเขียนแบบเป็นทางการเกินไปอาจทำให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกเกร็ง และการเขียนด้วยถ้อยคำแสดงความสนิทสนมยังจะช่วยป้องกันความรู้สึกในทางลบที่อาจเกิดขึ้นด้วย
  4. บางครั้งทางบริษัทอาจเสนอเงื่อนไขเพื่อให้คุณอยู่ต่อ ดังนั้น หากคุณต้องการลาออกจริงๆ ก็จงหนักแน่นเข้าไว้
    • คุณอาจระบุในการแจ้งหรือยื่นใบลาออกว่า “กระผม/ดิฉัน ขอแสดงความประสงค์ในการลาออกจากตำแหน่ง (ชื่อตำแหน่งของคุณ) ซึ่งจะมีผลในวันที่ (ระบุวันที่คุณทำงานวันสุดท้าย)”
  5. แสดงความรู้สึกว่าคุณซาบซึ้งใจในการทำงานที่นี่มากเพียงใด. แม้ว่าคุณจะเบื่องานของคุณทุกกระเบียดนิ้ว แต่จงมองหาบางอย่างมากล่าวคำชื่นชม โดยคุณอาจจะกล่าวประมาณว่า “ผมได้เรียนรู้มากมายจากการทำหน้าที่เป็นผู้ระดมทุนให้แก่มูลนิธิ…” (แม้ว่าจริงๆ แล้ว คุณอาจจะหมายถึง คุณได้ตาสว่างแล้วว่า แม้แต่งานมูลนิธิ ก็ยังมีเรื่องฉ้อฉลและคอรัปชั่นในองค์กร แบบที่คนภายนอกทั่วไปคาดไม่ถึง)
  6. อย่ากล่าวเชิงโอ้อวด แต่ควรเปรยถึงชิ้นงานและโครงการที่คุณทำสำเร็จ และความภาคภูมิใจของคุณที่ได้ทำ เรื่องนี้มีส่วนสำคัญทีเดียว เพราะจดหมายลาออกของคุณจะถูกเก็บเข้าแฟ้มไว้ โดยมีความคิดเห็นจากผู้บริหารไล่ตั้งแต่หัวหน้าคุณขึ้นไป เขียนกำกับไว้ด้วย ซึ่งในกรณีที่คุณใช้บริการสมัครงานจากบริษัทจัดหางาน หรือหากในอนาคตคุณต้องการสมัครงานกับบริษัทในเครือเดียวกันนี้ ผู้มีอำนาจตัดสินใจก็จะดูข้อมูลจากจดหมายดังกล่าวของคุณเป็นอันดับแรก
  7. เปรยว่าคุณดีใจมากเพียงใดที่ได้ร่วมงานกับบริษัทนี้ และคุณซาบซึ้งจากใจจริงกับเพื่อนร่วมงานทุกคน รวมถึงหัวหน้าคุณด้วย
    • กล่าวประมาณว่า “ดิฉันคงจะไม่มีโอกาสได้ก้าวสู่เส้นทางการเป็นนักเขียนอย่างในปัจจุบันนี้ หากไม่ได้มีโอกาสเก็บเกี่ยวประสบการณ์และทักษะในธุรกิจด้านสิ่งพิมพ์ จากการทำงานในสำนักพิมพ์แห่งนี้ตลอดหลายปีที่ผ่านมา” คุณอาจจะเอ่ยถึงหัวหน้าหรือใครบางคนเพื่อขอบคุณเป็นการพิเศษด้วย
  8. เตรียมจดหมายดังกล่าวไว้กับตัว เวลาทำการแจ้งหรือยื่นใบลาออกต่อหัวหน้า. อย่าให้วิธีส่งอีเมล เพราะมันจะดูไม่เป็นมืออาชีพ ปรินต์ออกมาและยื่นให้หัวหน้าของคุณ ตอนที่ไปคุยกันแบบตัวเป็นๆ จะดีกว่า
    โฆษณา
ส่วน 3
ส่วน 3 ของ 3:

การเข้าหาหัวหน้า

ดาวน์โหลดบทความ
  1. ขอเข้าพบกับหัวหน้า โดยระบุว่าต้องการแจ้งเรื่องสำคัญ. คุณอาจจะโผล่หน้าให้เขาเห็น และขอรบกวนเวลาในการพูดคุยสักนิดก็ได้ แค่ให้มันถูกกาลเทศะและใช้ความเคารพอย่างเหมาะสม เขาหรือเธออาจจะอยู่ในช่วงที่ไม่สามารถผละอกจากธุระที่ยุ่งอยู่ก็ได้ หรือคุณอาจจะถามหรือขอหัวหน้าว่า มีเรื่องขอพูดคุยปรึกษาในวันถัดไป เพื่อที่จะได้ช่วยให้พวกเขามีเวลาเตรียมตัวและเคลียร์งาน ก่อนที่จะต้องมาฟังข่าวสำคัญจากคุณ
    • หากเข้าหาในตอนที่พวกเขายุ่งมากเกินไป มันอาจจะทำให้เกิดความขุ่นเคืองใจกันได้ ดังนั้น หากเป็นไปได้ คุณควรรอจนกว่าหัวหน้าจะมีเวลามากพอรับฟังการแจ้งหรือยื่นใบลาออกของคุณ
  2. การซักซ้อมด้วยตนเองก่อนจะช่วยให้คุณพร้อมมากขึ้น ก่อนที่จะเข้าไปทำการแจ้งหรือยื่นใบลาออกกับหัวหน้า ผู้จัดการหลายๆ คนมักมีธุระยุ่ง ดังนั้น พวกเขาจะซาบซึ้งใจกว่า หากคุณใช้เวลาให้กระชับและตรงไปตรงมา อย่ามัวแต่หาถ้อยคำที่เหมาะสม วิธีชักแม่น้ำทั้งห้า หรือสรรหาพิธีรีตองใดๆ คุณแค่เริ่มด้วยการใช้คำพูดประมาณนี้ก็ได้:
    • "ผมได้คิดเกี่ยวกับทางเลือกอื่นๆ ในเรื่องนี้มาสักระยะนึงแล้วครับหัวหน้า ตอนนี้ผมได้ข้อสรุปแล้วว่าต้องการที่จะออกไปหาประสบการณ์ใหม่ๆ แต่ผมก็ซาบซึ้งใจที่ได้รับโอกาสมากมายจากการทำงานที่นี่ ตอนนี้ผมขออนุญาตแจ้งอย่างเป็นทางการล่วงหน้า"
    • หรือ... "หนูอยากแจ้งให้หัวหน้าทราบ เรื่องที่มีอีกบริษัทหนึ่งมาเสนองานใหม่ให้หนู ซึ่งได้ตอบตกลงไปก่อนหน้านี้แล้ว และจะขอยื่นจดหมายลาออกอย่างเป็นทางการในโอกาสนี้ด้วย ไม่ทราบว่า หากหนูจะลาออกในวันที่ (นับจากวันที่ยื่นไป อย่างน้อยสองสัปดาห์) หัวหน้าจะอนุมัติหรือมีเหตุขัดข้องใดไหมคะ?"
  3. เป็นไปได้ว่า คุณอาจร่วมงานกันมายาวนานระยะหนึ่งแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าคุณจะออกด้วยสาเหตุใด พวกเขาย่อมจะมีคำถามตามมา จงเตรียมคำตอบที่สั้นและกระชับได้ใจความเอาไว้ หากคุณลาออกเพราะเบื่องานที่นี่ พยายามหาคำตอบที่มันดูดีก็แล้วกัน แทนที่จะบอกว่า “หนู่ไม่ชอบทำงานที่นี่” คุณอาจจะบอกว่า “หนูว่างานนี้คงไม่เหมาะกับหนู หนูถนัดในสายงานอื่นมากกว่าค่ะ” [5]
  4. หัวหน้าของคุณอาจจะเห็นคุณค่าของคุณมากกว่าที่คุณคิดไว้ และพยายามยื่นข้อเสนอให้ การแจ้งหรือยื่นใบลาออกอย่างสง่างามและสุภาพนอบน้อม ย่อมมีผลให้เรื่องนี้เกิดขึ้นได้ คุณควรคิดล่วงหน้าไว้ว่า จะยอมอยู่ต่อเพื่อเงินเดือนและผลตอบแทนที่สูงกว่า รวมถึงสวัสดิการและตำแหน่งงานใดๆ ที่เขาหรือเธออาจเสนอให้หรือไม่
    • การเข้าไปพูดคุยกับหัวหน้าครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสในการเจรจาต่อรองครั้งสำคัญด้วย ดังนั้น คุณควรเตรียมพร้อมสักหน่อยและกำหนดลิมิตของตัวเองเตรียมไว้ เช่น หากคุณยังพอใจอ่อนทำงานที่นี่ต่อ คุณต้องการขอเสนอใดตอบแทนบ้าง แต่ลองอ่านข้อชี้แนะด้านล่างสักนิดก่อน เพราะการอยู่ต่อที่เดิม อาจมีผลเสียบางประการ
    • ไม่ว่าคุณจะรับข้อเสนอใดๆ ต้องแน่ใจว่ามีการเซ็นชื่อรับรองและตกลงกันเป็นลายลักษณ์อักษร จากทั้งหัวหน้างาน หัวหน้าแผนก และฝ่ายบุคคลของบริษัทคุณ
    • เมื่อกำลังพิจารณาข้อเสนอ พยายามประเมินสาเหตุที่คุณต้องการลาออกและปกป้องตัวเองไว้ก่อน เช่น ต่อให้มีข้อเสนอปรับเงินเดือนเพิ่มขึ้นให้คุณ แต่ปัญหาที่คุณเผชิญในที่ทำงาน อาจต้องได้รับทางออกมากกว่านั้น เช่น ตำแหน่งงานที่สูงกว่าเดิม (ในกรณีที่ปัญหาของคุณคือการถูกแช่แข็งในตำแหน่งเดิม) หรือต้องมีการย้ายแผนกหรือสาขา (กรณีที่คุณมีความขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าแผนก/สาขา)
  5. ตรงไปตรงมาแต่สุภาพนิดนึง เช่น หากหัวหน้าถามว่า เขาหรือเธอมีส่วนทำให้คุณอยากลาออกหรือไม่ ถ้าใช่ คุณก็ควรจะใช้ทักษะการทูตส่วนตัว ในการปรับแต่งถ้อยคำและท่าทางการพูด รวมถึงสีหน้า ให้คำตอบอันซื่อสัตย์ดังกล่าวมันพอรับได้ เวลาที่พวกเขาได้ยิน
    • พูดอีกอย่างก็คือ มันจะไม่มีอะไรดีขึ้นเลย หากคุณใช้คำพูดว่า “ใช่ค่ะ หัวหน้าเพิ่งจะรู้ตัวเหรอ หนูกับเพื่อนๆ คงมีความสุขกว่านี้ ถ้ามีคนอื่นเป็นหัวหน้า” คุณสามารถรักษาความจริงไว้ในขณะที่ใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกว่านั้น เช่น “ก็มีส่วนบ้างนะคะ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เหมือนเรายังไม่ค่อยลงตัวกันน่ะค่ะ หนูปรับตัวกับสไตล์การทำงานของหัวหน้าไม่ค่อยได้ และก็มีบางเรื่องที่หัวหน้าไม่ค่อยเข้าใจสไตล์ของหนู แต่โดยรวมแล้วก็ถือว่าในช่วงที่ผ่านมาเป็นประสบการณ์ที่ดี เพียงแต่หนูตื่นเต้นและเห็นโอกาสในงานใหม่มากกว่า”
  6. จำไว้ว่า จุดประสงค์ของการลาออกอย่างสง่างาม ก็คือการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับบรรดาเพื่อนร่วมงานทุกคนที่เคยร่วมงานกับคุณมา หากคุณเหวี่ยงทิ้งทวนใส่ทุกคนที่ไม่ชอบหน้า เพราะเห็นว่าไหนๆ ก็จะไปแล้วล่ะก็ คุณอาจไม่ได้รับการอ้างถึงในเชิงบวก หรืออาจไมได้รับการช่วยเหลือบอกต่อเวลามีตำแหน่งงานที่เหมาะกับคุณในที่ใดๆ การวางตัวอย่างเหมาะสม ชาญฉลาด และมีอัธยาศัยไมตรีในช่วงที่ลาออก จะเป็นการการันตีถึงอนาคตอันสดใสและประสบความสำเร็จให้แก่ตัวคุณเอง
    • ระวังไว้ด้วยว่า นายจ้างหรือหัวหน้างานบางคนมักจะไม่ชอบให้ใครเป็นฝ่ายเลือก ดังนั้น จงเตรียมให้แน่ใจก่อนว่า คุณพร้อมที่จะลาออกเดี๋ยวนั้นเลยทันทีก็ได้ ในกรณีที่นายจ้างบางคนมองการลาออกของคุณเป็นเรื่องส่วนตัว ซึ่งเขาหรือเธออาจบอกคุณให้เก็บข้าวของออกไปให้พ้นหน้าทันที โดยไม่ให้โอกาสทำการแจ้งหรือยื่นใบลาออก ดังนั้น จงวิเคราะห์ให้ดีว่านายจ้างของคุณจะเป็นประเภทนั้นหรือไม่ เผื่อใจไว้หน่อย เพราะคุณไม่สามารถคาดเดาพฤติกรรมของคนได้ร้อยเปอร์เซ็นต์หรอก แต่หากเกิดกรณีดังกล่าว คุณย่อมมีสิทธิที่จะเลือก เพียงแต่คุณต้องศึกษากฎระเบียบของบริษัทหรือข้อสัญญาจ้างงานเอาไว้ล่วงหน้า หากไม่มีการทำสัญญาจ้างใดๆ ก็ให้ยึดถือตามกฎหมายแรงงานนั่นเอง
  7. ไม่ว่าคุณหรือทางแผนกจะต้องย้ายไปสถานที่อื่น หรือลาออกไปทำงานที่ใหม่ หรือแค่ต้องการหนีหน้าใครบางคนไปให้พ้นๆ คุณก็ต้องเดินออกมาอย่างสง่าผ่าเผย
    • ยกมือไหว้ (หรือจับมือ) คนที่กำลังจะเป็นอดีตหัวหน้า (อาจจะแอบดีใจ) สำหรับทุกสิ่งที่ผ่านมา และเดินออกไป
    • กลับไปนั่งที่โต๊ะ หรือประจำตำแหน่งงานของคุณสัก 10 นาที ตอนนี้ คุณสามารถเริ่มป่าวประกาศข่าวนี้ให้คนอื่นฟังได้แล้ว แต่อย่าไปนินทาหัวหน้าหรือเจ้านาย พยายามรักษาเชิงเอาไว้ แค่บอกพวกเขาไปว่าคุณจะออกแน่นอนแล้วก็พอ
  8. หลังจากที่แจ้งหัวหน้างาน อย่าลืมบอกหัวหน้าแผนก หรือคนที่คุณต้องคอยประสานงานด้วยเป็นประจำ รวมถึงผู้จัดการฝ่ายให้ทราบด้วย พูดในลักษณะที่แสดงความขอบคุณสำหรับการร่วมงานและโอกาสในการทำงานที่ผ่านมาจนถึงจุดนี้
    • ตัวอย่างเช่น “เราไม่แน่ใจว่าเธอรู้ข่าวหรือยัง แต่เราเพิ่งยื่นใบลาออกไป เพราะต้องไปเริ่มงานที่บริษัทใหม่น่ะ เราแค่อยากมาบอกว่าดีใจที่ได้ทำงานร่วมงานกันมานะ” คนเหล่านี้อาจต้องลาออกไปทำงานที่อื่นเช่นกันในอนาคต ดังนั้น คุณคงอยากให้พวกเขามีความทรงจำที่ดีเกี่ยวกับคุณมากกว่า ไม่มีใครรู้หรอกว่า พวกเขาอาจจะมีผลต่อหน้าที่การงานของคุณในอนาคตก็ได้
    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • หัวหน้าหรือคนที่เคยงี่เง่าใส่คุณ อาจจะจับพลัดจับผลูไปเป็นหัวหน้าฝ่ายของคุณในบริษัทใหม่ก็ได้ หรือที่แย่กว่านั้น คือ อาจจะไปเป็นลูกน้องคุณซะงั้น จำไว้อย่างว่า พวกตัวแสบประเภทนี้มักจะไม่รู้ว่าตนเองมีคนไม่ชอบขี้หน้าอยู่ ดังนั้น หากคุณถูกจดจำในฐานะคนที่ใจกว้างและมีแต่เรื่องดีๆ มันก็จะช่วยส่งเสริมให้คุณอัตราเร่งที่ดีในความเจริญก้าวหน้าทางหน้าที่การงานในอนาคต เพราะหัวหน้าเก่าของคุณ ซึ่งอาจจะไปเป็นหัวหน้าใหม่ของคุณอีกในตอนนั้น อาจจะผลักดันให้คุณ(ซึ่งเขาหรือเธอจดจำรอยยิ้มครั้งเก่าได้) เลื่อนตำแหน่งให้คุณ ก่อนพนักงานคนอื่นๆ ที่เขาหรือเธอไม่เคยรู้จักมาก่อน โดยอาจรวมถึงการโยกย้ายสาขา หรือจ่ายงานที่คุณต้องการ รวมถึงน้ำใจงามๆ ในรูปแบบอื่นให้แก่คุณด้วย
  • จำไว้ว่า ไม่มีใครจะมีอิสรภาพมากไปกว่าพวกที่ไม่มีอะไรต้องเสียแล้ว อย่างไรก็ดี มันย่อมไม่มีผลดีอะไรกับคุณเลย หากคุณจะด่ากราดคนในที่ทำงานเก่าเพียงเพราะว่าไหนๆ ก็จะลาไปแล้ว คุณควรจะคิดเสียว่าเหลืออีกแค่ 2 สัปดาห์ก็ทนๆ เอาหน่อย ไม่ถึงตายหรอก หลังจากนั้น ก็จะได้บอกลาประสบการณ์แย่ๆ อย่างถาวรแล้ว
โฆษณา

คำเตือน

  • เตรียมการในส่วนต่างๆ หากคุณต้องเก็บข้าวของออกจากออฟฟิศกระทันหันในวันที่ทำการแจ้งหรือยื่นใบลาออก โดยคุณควรเซฟไฟล์ทุกอย่างที่คุณต้องการลงดิสก์ ยูเอสบี หรืออีเมลส่วนตัว อย่างเช่น ข้อมูลติดต่อลูกค้า รายชื่อซัพพลายเออร์ หรือเอกสารอ้างอิงต่างๆ รวมถึงงานหรือตัวอย่างผลงานที่คุณเป็นคนทำเอาไว้ ฯลฯ ทั้งหมดที่คุณมีสิทธิในการครอบครอง (ทั้งนี้ คุณควรตระหนักว่าข้อมูลและวัตถุดิบในการทำงานส่วนใหญ่ ที่คุณใช้ในขณะที่ยังเป็นพนักงานอยู่ มักถือเป็นกรรมสิทธิ์ของทางบริษัท ดังนั้น จงนำติดตัวไปเฉพาะในส่วนที่คุณมีสิทธิตามกฎหมายหรือขอบข่ายสัญญาจ้างเท่านั้น)
โฆษณา

บทความวิกิฮาวอื่น ๆ ที่่เกี่ยวข้อง

ข้ออ้างดีๆ ในการลางานอย่างกะทันหันลางานแบบเนียนๆ ให้เจ้านายจับไม่ได้ด้วย 20 ข้ออ้างลางานกะทันหันที่ทำให้การลางานน่าเชื่อถือ
ส่งข้อความลาป่วยหาหัวหน้าอย่างไรให้ดูเป็นมืออาชีพส่งข้อความลาป่วยหาหัวหน้าอย่างไรให้ดูเป็นมืออาชีพ
บอกลาเพื่อนร่วมงานบอกลาเพื่อนร่วมงาน
เขียนอีเมลติดตามผลการสมัครงานเขียนอีเมลติดตามผลการสมัครงาน
หาสปอนเซอร์หาสปอนเซอร์
เป็นดาราหนังโป๊เป็นดาราหนังโป๊
จัดงานเลี้ยงอำลาจัดงานเลี้ยงอำลา
ส่งมอบงานต่อส่งมอบงานต่อ
เขียนจดหมายธุรกิจถึงลูกค้าเขียนจดหมายธุรกิจถึงลูกค้า
เขียนแผนกลยุทธ์สำหรับองค์กรเขียนแผนกลยุทธ์สำหรับองค์กร
เขียนหนังสือรับรองการทำงานเขียนหนังสือรับรองการทำงาน
เขียนแบบประเมินตนเองเขียนแบบประเมินตนเอง
เป็นพนักงานต้อนรับที่ดีเป็นพนักงานต้อนรับที่ดี
โทรลาป่วย เมื่อคุณต้องการวันหยุดสักวันโทรลาป่วย เมื่อคุณต้องการวันหยุดสักวัน
โฆษณา

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 35 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง บทความนี้ถูกเข้าชม 263,418 ครั้ง
มีการเข้าถึงหน้านี้ 263,418 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม

โฆษณา