ข้ามไปเนื้อหา

ยุคยาโยอิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยุคยาโยอิ (ญี่ปุ่น: 弥生時代โรมาจิYayoi jidai) เริ่มต้นในยุคหินใหม่ตอนปลายในประเทศญี่ปุ่น ดำเนินต่อไปในยุคสัมฤทธิ์ และสิ้นสุดที่ยุคเหล็ก[1]

ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 นักวิชาการได้โต้แย้งว่าช่วงเวลาที่ก่อนหน้านี้จัดว่าเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากยุคโจมงควรจัดประเภทใหม่เป็นยุคยาโยอิตอนต้น[2] ปีที่เริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านนี้เป็นที่ถกเถียงกัน โดยมีการประมาณการอยู่ในขอบเขตจากศตวรรษที่ 10 ถึงศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช[1][3]

ยุคสมัยนี้ได้ชื่อตามย่านในโตเกียวที่นักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุและคุณลักษณะจากยุคนั้นเป็นครั้งแรกในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ลักษณะเด่นของยุคยาโยอิได้แก่ รูปลักษณ์เครื่องปั้นดินเผายาโยอิ งานช่างไม้และสถาปัตยกรรมที่ผ่านการปรับปรุง และจุดเริ่มต้นการทำนาข้าวแบบเข้มข้นในนา[4] โครงสร้างชนชั้นทางสังคมแบบลำดับชั้นสืบต้นตอจากยุคนี้ และมีต้นตอจากจีน เทคนิควิศวกรรมโลหการจากการใช้สัมฤทธิ์และเหล็กก็นำเข้าจากจีนผ่านเกาหลีไปจนถึงญี่ปุ่นในช่วงนี้ด้วย[5]

หลังยุคยาโยอิก็เข้าสู่ยุคโจมง และวัฒนธรรมยาโยอิเจริญรุ่งเรื่องในพื้นที่คีวชูใต้ถึงฮนชูเหนือ หลักฐานทางโบราณคดีสนับสนุนแนวคิดที่ว่าในช่วงเวลานี้ การอพยพเข้ามาของชาวนา (ชาวยาโยอิ) จากคาบสมุทรเกาหลีไปยังญี่ปุ่นอย่างล้นหลามและปะปนไปกับชาวพื้นเมืองที่เก็บของป่าล่าสัตว์เป็นหลัก (ชาวโจมง)

คุณสมบัติ

[แก้]
  • เริ่มเรียนรู้การเพาะปลูกข้าว วิชาช่าง เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยทองสัมฤทธิ์และเหล็ก เช่น เครื่องมือเพาะปลูก ดาบ กระจกเงา
  • เครื่องปั้นดินเผายาโยอิ ใช้แกนหมุนในการขึ้นรูป เครื่องมือเครื่องใช้ทำด้วยโลหะและหินขัด
  • ชาวจีนเรียกแผ่นดินญี่ปุ่นว่า แผ่นดินของวา (วา แปลว่า แคระ)
  • ใน ค.ศ. 57 เจ้าเมืองแผ่นดินวา ได้รับตราประจำตำแหน่งทำด้วยทอง เขียนไว้ว่า “เจ้าเมืองแผ่นดินวาของฮั่น” หลังจากส่งเครื่องบรรณาการให้แก่ฮ่องเต้เมืองฮั่น
  • ศาสนาสมัยแรกของชาวญี่ปุ่นคือ ชินโต หรือ “ทางของเทพเจ้า” เป็นศาสนาที่สักการบูชาเทพเจ้า ซึ่งได้แก่ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือบรรพบุรุษในตำนาน (สถานที่ประกอบพิธีกรรมของศาสนาชินโต ในสมัยนั้น)
  • ตอนต้นของศตวรรษแรก แผ่นดินวานี้แบ่งออกเป็นรัฐต่างๆน้อยใหญ่ประมาณ 100 กลุ่มชนด้วยกัน แต่ในศตวรรษต่อไปนั้นจำนวนรัฐลดเหลือเพียง 30 กลุ่มชน อยู่รวมกันภายใต้การคุ้มครองของราชินีองค์หนึ่ง นามว่า พระนางฮิมิโกะ ซึ่งเป็นผู้ทำหน้าที่ทางศาสนามากกว่าเป็นประมุขทางการเมือง พระนางทำหน้าที่เป็นคนทรงและประกอบเวทมนตร์คาถาให้ประชาชน ส่วนประมุขทางการเมืองยังเป็นจักรพรรดิ
  • ใน ค.ศ. 239 พระนางฮิมิโกะ ผู้ครองอาณาจักรยามาไท ส่งเครื่องบรรณาการไปยังเมืองเว่ย หรือในไทยรู้จักกันในชื่อวุยก๊ก ของจีน
  • ช่วงศตวรรษที่ 3 มีการอพยพของคนจากแผ่นดินใหญ่ผ่านทางเกาหลีเข้ามายังญี่ปุ่น

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Shōda, Shinya (2007). "A Comment on the Yayoi Period Dating Controversy". Bulletin of the Society for East Asian Archaeology. 1.
  2. Habu 2004, p. 258.
  3. Mizoguchi, Koji (2013). The Archaeology of Japan: From the Earliest Rice Farming Villages to the Rise of the State. Cambridge University Press. pp. 35–36. ISBN 978-0-521-88490-7.
  4. Seike, Kiyoshi (1977). The art of Japanese joinery. Yuriko Yobuko, Rebecca M. Davis (1st ed.). New York: J. Weatherhill. p. 8. ISBN 0-8348-1516-8. OCLC 3071841.
  5. Farris, William Wayne (1996). "Ancient Japan's Korean Connection". Korean Studies. 20 (1): 1–22. doi:10.1353/ks.1996.0015. JSTOR 23719600. S2CID 162644598.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Schirokauer, Conrad (2013). A Brief History of Chinese and Japanese Civilizations. Boston: Wadsworth Cengage Learning.
  • Silberman, Neil Asher (2012). The Oxford Companion to Archaeology. New York: Oxford University Press.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]